องค์การบริหารส่วนตำบลบึงนคร

Buengnakorn Subdistrict Administration Organization

ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ


ออนไลน์ : 9

หัวข้อ :: ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ

วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ จุดม่งหมายและแนวทางการพัฒนา

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงนคร
 
1.  ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วิสัยทัศน์
                        “บริหารจัดการที่ดี  มีชุมชนเข็มแข็ง  ร่วมแรงพัฒนาคุณภาพชีวิต  มุ่งสู่เศรษฐกิจพอเพียง”
            ยุทธศาสตร์การพัฒนา
            ยุทธศาสตร์ที่  1  การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
            ยุทธศาสตร์ที่  2  การพัฒนาการด้านศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
            ยุทธศาสตร์ที่  3  ด้านเศรษฐกิจ
                        ยุทธศาสตร์ที่  4  การพัฒนาด้านสังคม
            ยุทธศาสตร์ที่  5  การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
            ยุทธศาสตร์ที่  6  การพัฒนาด้านการเมืองและการบริหาร
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงนคร  มีดังนี้                                                                                       
1.1 เป้าประสงค์
            1.  การคมนาคมมีความสะดวก  รวดเร็ว  และปลอดภัย  มีระบบสาธารณูปโภค  สาธารณูปการที่มีคุณภาพ
            2.  ชุมชนมีไฟฟ้าสาธารณะอย่างทั่วถึงและเพียงพอ
            3.  ส่งเสริมให้ความรู้แก่ประชาชนในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  ปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
            4. ประชาชนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึง  ได้รับโอกาสการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกัน  และมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต  สืบสาน  ส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม  ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น  ให้คงอยู่คู่ท้องถิ่นตลอดไป
            5. มีความมั่นคง  สงบ  เรียบร้อย  ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  ลดปัญหาสังคมสังคมทุกรูปแบบ  สถาบันครอบครัวชุมชนอบอุ่นแข็งแรง  ป้องกัน  แก้ไขปัญหายาเสพติด  ปัญหาการทะเลาะวิวาท 
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล  บริหารจัดการ  อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน  ปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงนคร
            6.พัฒนาความรู้  ความสามารถของบุคลากร  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น  ปรับปรุงพัฒนาและจัดให้มีเครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงานให้ทันสมัย  สะดวกเอื้ออำนวยต่อการให้บริการประชาชน
 
1.2  กลยุทธ์และตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
            กลยุทธ์ที่  1  พัฒนาเส้นทางคมนาคมภายในท้องถิ่นและเชื่อมระหว่างท้องถิ่น
                        ตัวชี้วัด  จำนวนหมู่บ้านที่ได้รับความสะดวกในการคมนาคม
            กลยุทธ์ที่  2  พัฒนา  ปรับปรุง  และบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้มีอย่างทั่วถึงและเพียงพอ
                        ตัวชี้วัด  จำนวนร้อยละของครัวเรือนที่มีน้ำประปา – ไฟฟ้าใช้
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม
            กลยุทธ์ที่  1  จัดการศึกษาและสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีอย่างเพียงพอและได้มาตรฐาน
                        ตัวชี้วัด  จำนวนผู้ที่ได้รับการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
            กลยุทธ์ที่  2  พัฒนาและส่งเสริมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ได้มาตรฐาน
                        ตัวชี้วัด  จำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้รับการพัฒนา
            กลยุทธ์ที่  3  ส่งเสริม  สืบสานจารีตประเพณี  ศาสนาและวัฒนธรรมอันดีงามให้คงอยู่คู่กับท้องถิ่นสืบไป
                        ตัวชี้วัด  ร้อยละของจำนวนประชาชนที่เข้าร่วมงานประเพณีต่าง ๆ
            กลยุทธ์ที่  4  พัฒนาคนให้มีคุณธรรม  จริยธรรม  นำความรู้  เกิดภูมิคุ้มกัน
                        ตัวชี้วัด  จำนวนประชาชนมีคุณธรรม  จริยธรรมเพิ่มขึ้น
            กลยุทธ์ที่  5  ส่งเสริม  สืบทอดองค์ความรู้  ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ศูนย์กลางการศึกษา  วัฒนธรรมในกลุ่มประชาคมอาเซียน
                        ตัวชี้วัด  ร้อยละของงบประมาณสนับสนุนการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
            กลยุทธ์ที่  1  พัฒนา  สนับสนุนและส่งเสริมอาชีพ  การสร้างงาน  และสร้างรายได้ให้กับประชาชน
                        ตัวชี้วัด  จำนวนร้อยละของประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
            กลยุทธ์ที่  2  พัฒนาแหล่งน้ำและการชลประทาน
                        ตัวชี้วัด  จำนวนแหล่งน้ำที่ได้รับการบำรุงรักษาเพิ่มขึ้น
            กลยุทธ์ที่  3  การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเป็นระบบ
                        ตัวชี้วัด  จำนวนของเกษตรกรที่ใช้น้ำเพิ่มขึ้น
            กลยุทธ์ที่  4  ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์
                        ตัวชี้วัด  จำนวนร้อยละของครัวเรือนที่ดำเนินชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้น
            กลยุทธ์ที่  5  สร้าง พัฒนา  ฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
                        ตัวชี้วัด  จำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการบำรุงรักษาเพิ่มขึ้น
            กลยุทธ์ที่  6  ส่งเสริมการท่องเที่ยวของ อบต. ให้เป็นที่รู้จักทั่วไปของนักท่องเที่ยว
                        ตัวชี้วัด  ร้อยละของนักท่องเที่ยวที่รู้จักแหล่งท่องเที่ยวในตำบล
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคม
            กลยุทธ์ที่  1  ส่งเสริมสุขภาพอนามัยชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
                        ตัวชี้วัด  จำนวนประชาชนมีสุขภาพอนามัยความเป็นอยู่ดีขึ้น
            กลยุทธ์ที่  2  สนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
                        ตัวชี้วัด  จำนวนหมู่บ้านที่ห่างไกลยาเสพติด
            กลยุทธ์ที่  3  ส่งเสริมกิจการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก  เยาวชน  สตรี  ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมและการสังคมสงเคราะห์
                        ตัวชี้วัด  จำนวนประชาชนที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
            กลยุทธ์ที่  4  เสริมสร้างมาตรการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
                        ตัวชี้วัด  จำนวนหมู่บ้านที่ห่างไกลอบายมุขปลอดภัยจากอุบัติเหตุและอุบัติภัยที่ป้องกันได้
            กลยุทธ์ที่  5  เสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตยให้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมไทย
                        ตัวชี้วัด  จำนวนหมู่บ้านที่ยึดหลักประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
            กลยุทธ์ที่  6  จัดให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬา  สถานที่พักผ่อนและสวนสาธารณะ
                        ตัวชี้วัด  จำนวนสถานที่ออกกำลังกายและพักผ่อนเพิ่มขึ้น
            กลยุทธ์ที่  7  ส่งเสริมการออกกำลังกาย  แข่งขันกีฬาและนันทนาการ
                        ตัวชี้วัด  จำนวนร้อยละของประชาชนที่ออกกำลังกายในตำบลบึงนครและแต่ละหมู่บ้าน
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
            กลยุทธ์ที่  1  พัฒนา  สนับสนุนและส่งเสริมอาชีพ  การสร้างงาน  และสร้างรายได้ให้กับประชาชน
                        ตัวชี้วัด  จำนวนร้อยละของประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
            กลยุทธ์ที่  2  พัฒนาแหล่งน้ำและการชลประทาน
                        ตัวชี้วัด  จำนวนแหล่งน้ำที่ได้รับการบำรุงรักษาเพิ่มขึ้น
            กลยุทธ์ที่  3  การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเป็นระบบ
                        ตัวชี้วัด  จำนวนของเกษตรกรที่ใช้น้ำเพิ่มขึ้น
            กลยุทธ์ที่  4  ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์
                        ตัวชี้วัด  จำนวนร้อยละของครัวเรือนที่ดำเนินชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้น
            กลยุทธ์ที่  5  สร้าง พัฒนา  ฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
                        ตัวชี้วัด  จำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการบำรุงรักษาเพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ที่  6  จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย  การจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล
                        ตัวชี้วัด  จำนวนหมู่บ้านที่มีระบบบำบัดน้ำเสียและการจัดการขยะเพิ่มขึ้น
            กลยุทธ์ที่  7  ส่งเสริมการท่องเที่ยวของ อบต. ให้เป็นที่รู้จักทั่วไปของนักท่องเที่ยว
                        ตัวชี้วัด  ร้อยละของนักท่องเที่ยวที่รู้จักแหล่งท่องเที่ยวในตำบล
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
            กลยุทธ์ที่  1  ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
                        ตัวชี้วัด  ร้อยละของประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
            กลยุทธ์ที่  2  ปรับปรุง  พัฒนาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน
                        ตัวชี้วัด  ร้อยละของประชาชนที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร
            กลยุทธ์ที่  3  ส่งเสริม  พัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร
                        ตัวชี้วัด  จำนวนบุคลากรมีความรู้ในการปฏิบัติหน้าที่เพิ่มขึ้น
            กลยุทธ์ที่  4  ปรับปรุง  พัฒนาและจัดให้มีเครื่องมือ  เครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงานให้ทันสมัยสะดวกเอื้ออำนวยต่อการให้บริการประชาชน
                        ตัวชี้วัด  จำนวนวัสดุ  ครุภัณฑ์ และสถานที่ปฏิบัติงานมีความสะดวกเพิ่มขึ้น
1.3  จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงนคร
            จุดยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงนคร
            1. มีการเกษตรที่เป็นฐานหลักที่สามารถรองรับวิกฤตเศรษฐกิจได้และเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญ
            2. มีกลุ่มเกษตรกรที่มีความเข้มแข็งสามารถผลิตเกษตรกรเพื่อดำรงชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้น
            3. การมีผู้นำที่เข้มแข็ง มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า
 
2.  การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
            2.1  การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรกปกครองส่วนท้องถิ่น  ใช้การวิเคราะห์  SWOT  Analysis          (จุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาส  และอุปสรรรค )
           
จุดแข็ง(Strength  :S) ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย
            s-1 กระบวนการและกลไกขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลเข้มแข็งและศักยภาพ
            s-2 การพัฒนาศักยภาพและการสร้างเครือข่ายแกนนำตำบลมีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ
            s-3 มีการคมนาคมที่สะดวกและไปได้หลายเส้นทาง
            s-4 พื้นที่เหมาะสมต่อการเกษตรมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ (แม่น้ำชี บึงจิว และแหล่งน้ำ
            สาธารณประโยชน์) และมีระบบชลประทานเพื่อการเกษตร
            s-5 สังคมสงบสุขภาคประชาชนมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งและมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
           
จุดอ่อน (Weakness :W) ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย
            w-1 ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่นขาดความรู้และทักษะด้านการบริหารจัดการที่ดี
            w-2 ปัญหาเกี่ยวกับเยาวชนมีแนวโน้มสูงขึ้นได้แก่ ยาเสพติด สิ่งเสพติด,ทะเลาะวิวาท,อาชาญากรรม
            ,ลักขโมย
            w-3 ขาดการจัดการ การส่งเสริม การบูรณาการด้านการศึกษาที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ
            w-4 ประชาชนในตำบลเสียชีวิตและเจ็บป่วยเนื่องจากโรคไม่ติดต่อ  (NCDs: non
            communiIcable diseases) จำนวนมาก
            w-5 การระบายน้ำทิ้งจากชุมชนยังไม่มีประสิทธิภาพ  ทำให้เกิดน้ำท่วม น้ำเสีย และสกปรก
            w-6 ขาดการส่งเสริมทางด้านการท่องเที่ยว
 
โอกาส (Opportunity :O)ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย
            o-1 ประชาชนเริ่มให้ความสนใจเรื่องสุขภาพและเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีฐานเรียนรู้เศรษฐกิจ
            พอเพียงในตำบล
            o-2 มีโครงสร้างการการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลที่ชัดเจนและทำงานเป็นทีม
            o-3 มีธรรมนูญเพื่อประชาชนตำบลเพื่อแนวทางในการป้องกันแก้ไขและใช้เป็นทิศทางการพัฒนาตำบล
            o-4 มีการส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมในหมู่บ้านชุมชน
 
ภัยอุปสรรค (Threat :T)ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย
            T-1 งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลและหน่วยงานสนับสนุนมีจำนวนจำกัดและไม่
            เพียงพอ
            T-2 ขาดการส่งเสริมด้านการเกษตร การรวมกลุ่มอาชีพ และปรับเปลี่ยนแนวความคิดประชาชน
            T-3 ผลผลิตและราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ รวมทั้งการเผชิญสถานการภัยพิบัติจากสภาวการณ์
            ของโลก
            T-4 ระบบชลประทาน ไฟฟ้าเพื่อการเกษตรยังไม่ทั่วถึงและเพียงพอต่อการเกษตรทั้งตำบล
            T-5 ขาดการให้ความรู้ การจัดการ การกำจัดขยะแก่ประชาชนที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
วันที่ : 18 พฤศจิกายน 2562   View : 997